สร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ เริ่มต้นตั้งแต่ศูนย์ ทำอย่างไร

เริ่มต้นสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ทำอย่างไร 

 ในยุคนี้ที่ Internet เข้าถึงคนทั่วโลกกันอย่างมากมาย เพื่อนหลายคนอาจจะมีความคิดที่อยากจะขายของออนไลน์ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี ไม่ว่าจะเป็นปัญหาโลกแตกของการทำเว็บไซต์ ยิ่งถ้าเราทำเว็บไซต์ที่ต้องการสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ต่างประเทศ ด้วยแล้วยิ่งแล้วใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการที่ต้องมีสิ่งที่สำคัญๆสำหรับเว็บไซต์ขายของออนไลน์ดังต่อไปนี้
  • สร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ให้ลูกค้าสามารถจ่ายเงินตัดบัตร Credit Debit ผ่านเว็ปไซต์ของเราได้เลย
  • สร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ให้ ดูน่าเชื่อถือ ดูเป็นร้านค้าออนไลน์ E-Commerce จริงๆ ไม่ใช้ Blog Post สินค้า
  • สร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ ทำให้เว็บไซต์ Support กับมือถือ
  • มีการเก็บข้อมูลลูกค้า Order สินค้า และคำนวนค่าจัดส่งได้ด้วย
 เชื่อว่ามีหลายคนที่มีไอเดีย หรือเคยมีสินค้าในใจที่เคยคิดอยากจะขายไม่ว่าจะเป็นทั้งขายในประเทศ และนอกประเทศ แต่ติดปัญหาที่ทำ Website ไม่เป็นจะไปจ้างเค้าทำก็ไม่คุ้ม เลยไม่เอาดีกว่า

โดยวันนี้เราจะมาสอนการสร้างเว็บไซต์ขายของออนไล์ สามารถเพิ่มสินค้าได้ ตัดเงินผ่านบัตรได้ คำนวนค่าขนส่งได้ ดูน่าเชื่อถือ และ Support กับมือถือด้วย ด้วยการใช้เวลาทำไม่ถึง 3 ชม และไม่จำเป็นต้องรู้ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เลยซักนิดเดียวกันเลยค่ะ

 ตัวอย่างเว็บไซต์ขายของออนไลน์
 โดยสินค้าที่เพื่อนๆต้องการจะขายอันนี้จะขึ้นอยู่แต่ละคนต่างกันไป อย่างตัวอย่างที่นำมาโชว์จะเป็นเว็บไซต์ขายกางเกงมวยไทย ที่ขายทั่วโลก โดยจะมีระบบคำนวนค่า Shipping ของแต่ละประเทศ และสามารถตัดเงินผ่านบัตรได้เลย โดยไอเดียสินค้าต่างๆของแต่ละคนคงจะไม่เหมือนกัน ถ้าเพื่อนๆคิดไม่ออกอาจจะลองเดินหาตามสำเพ็ง หรือหางานไม้ตามชายแดน งานศิลปะไม้คนต่างประเทศก็ชอบกันมากๆ หรือจะสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ภาษาไทยสำหรับขายในประเทศไทยอย่างเดียวก็ได้
เริ่มกันโดยเราจะใช้ Wordpress เป็นตัวหลักในการทำ โดยการที่เราจะมีเว็บไซต์เป็นของตนเองไม่ว่าจะเป็นการทำเว็บไซต์ของบุคคลหรือธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์รูปแบบใดๆ สองสิ่งที่เราต้องมีก็คือ 
  1. โดเมน ( Domain ) - โดเมน หรือจะให้อธิบายง่ายๆก็คือชื่อเว็บไซต์ของเรานั้นเอง ที่สำหรับให้คนพิมหาในเน็ต เช่น เราต้องการเว็ปไซต์ชื่อ  www.shortmuaythai.com เราต้องทำการลงทะเบียนจดโดเมนในชื่อ shortmuaythai.com กับผู้ที่รับจดโดเมนก่อน ซึ่งชื่อ Domain จัดว่าสำคัญมากเพราะจะช่วยทั้งการจดจำของลูกค้า และมีผลมากกับ SEO หรือทำให้ติด Google หน้าแรกๆ โดยชื่อโดเมนที่เราต้องการบางทีอาจจะมีคนอื่นจดไปแล้ว เราก็อาจจะต้องใช้ชื่ออื่น โดยส่วนใหญ่ Domain จะมีค่าจดรายปีอยู่ที่ประมาณ 400 - 500 บาทต่อปี ตกประมาณเดือนละ 50 บาท โดยส่วนใหญ่คนจะนิยมจดกันกับ www.godaddy.com เพราะเป็นเจ้าใหญ่และมีราคาเกือบจะถูกที่สุดของทุกเว็บไซต์
  2. โฮสติ้ง ( Hosting ) - โฮสติ้ง คือจะคล้ายๆตัวคอมพิวเตอร์ตัวนึงที่จะเปิดอยู่ตลอดเวลา ทำการเก็บไฟล์ของ Website เราและเป็นตัว Server ให้คนสามารถเข้าได้ 24 ชม ซึ่งบริษัท Hosting ก็มีหลายๆเจ้าด้วยกัน ซึ่งตามปกติเวลาที่เราสมัคร Hosting เรียบร้อยแล้วจะได้ตัว Name Server มาเพื่อไป Config กับตัว Domain ให้ชี้ไปที่ Hosting อีกทีนึง โดยวันนี้ที่จะแนะนำก็คือสมัคร Hosting ที่เดียวกับ Domain ไปเลยจะได้ไม่ต้องเสียเวลา Config อื่นๆให้ยุ่งยาก สามารถใช้งานได้ทันที

ขั้นตอนการสมัคร Hosting และ Domain

โดยขั้นแรกก่อนที่จะเริ่มสร้างเว็บไซต์เราต้องมี Hosting กับ Domain ก่อน โดยเว็บไซต์จะมีหลากหลายเว็บไซต์ สามารถหาตามกูเกิ้ลได้เลย โดยเว็บไซต์ที่ดิฉันจะแนะนำในการสมัครคือ www.godaddy.com นั้นและ สมัครได้ทั้งโฮสติ้งและโดเมนทีเดียว ไม่ต้องการนั่งเซ็ตค่าอะไรให้ยุ่งยาก ที่สำคัญคือสมัคร Hosting เขาแถม Domain ฟรี 1 อัน ประหยัดไปได้เยอะ เบ็ดเสร็จราคาจะตกอยู่ที่ประมาณ 200 บาทต่อเดือน หรือ 2500 บาทต่อปี เป็นเว็บไซต์ที่มีมาตรฐานสูง ราคาถูกด้วย วิธีการสมัครจะอธิบาย ดูตามรูปด้านล่างได้เลยค่ะ
 ขั้นแรกเข้าเว็บไซต์ www.godaddy.com จะเข้าหน้าแรกตามภาพ ถ้าใครเป็นภาษาอังกฤษให้เปลี่ยนภาษาเป็นไทยก่อนก็ได้ค่ะ
ต่อไปให้เลือกที่เมนู โฮสติ้ง และเลือกที่ เว็บโฮสติ้ง ค่ะ

ต่อไปจะเข้าหน้าให้เลือกแผนให้เลือกลงมาตรงแผนสำหรับ Linux ค่ะ ไม่ต้องไปเลือกแผนสำหรับ Windows นะคะ อันนี้ใช้ง่าย ราคาถูกกว่าค่ะ ต่อไปก็ให้เลือกแผน แนะนำเป็น แบบดีลักซ์ อันกลางจะคุ้มสุดค่ะ เพราะสามารถใส่เว็บไซต์ของเราได้ไม่จำกัดค่ะ เพื่ออีกหน่อยอยากเปิดเว็บไซต์อื่นๆเพิ่มก็จดแค่ Domain เสียแค่ค่าโดเมนเพิ่มอย่างเดียวค่ะ เสร็จแล้วก็เลือกที่เพิ่มลงตะกร้าสินค้าได้เลยค่ะ
 เมื่อคลิกเพิ่มลงตะกร้าแล้วจะเข้าหน้าประมาณนี้ค่ะ จะให้เลือกระยะเวลาแนะนำเป็น 12 เดือนดีที่สุดค่ะ ต่ออายุไปปีต่อปีดีกว่า ส่วนพวกส่วนเสริมข้างล่างที่ใช้ติ๊กถูก ไม่ต้องไปเลือกนะคะ เปลืองไม่จำเป็น เสร็จแล้วกดดำเนินการต่อได้เลยค่ะ
เมื่อกดเรียบร้อยจะเข้าหน้านี้ค่ะ จะมีแถม Domain ฟรีให้ 1 อันค่ะ ถ้าใครมีโดเมนแล้วไม่อยากได้ก็เลือก ไม่ค่ะ ขอบคุณ ฉันไม่ต้องการของฟรี เชิดๆไปก็ได้ค่ะ >.< หน้านี้ให้เราเลือกชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการไปได้เลยค่ะ สมมุติเราต้องการขายรถ Vespa อาจจะจดโดเมนเป็น kjvespa.com ก็พิมในช่องเป็น kjvespa.com ได้เลยค่ะ เสร็จแล้วให้กดค้นหาเพื่อเช็คว่าชื่อโดเมนที่เราต้องการมีคนใช้ไปรึยังค่ะ



 ถ้าโดเมนที่เราต้องการยังไม่มีคนใช้จะขึ้นประมาณนี้ค่ะ ว่าโดเมนยังว่างสามารถใช้ได้ ให้เรากดเลือกและดำเนินการต่อได้เลยค่ะ ถ้าเกิดว่าโดเมนที่เราต้องการมีคนใช้ไปแล้วก็ต้องใช้ชื่ออื่นแทนค่ะ




หลังจากกดดำเนินการต่อแล้วจะเข้ามาหน้านี้ค่ะ ให้ตรวจสอบดูว่าของที่เราต้องการตรงมั้ย ถ้าใครมีสินค้าในตระกร้าชื่อ ชุดเริ่มต้น Office 365 ตามรูป ให้กดลบออกไปด้วยนะค่ะ ไม่จำเป็นค่ะ ที่บอกฟรีนั้นฟรีแค่ปีแรก แถมไม่ได้ใช้ลบออกไปด้วยค่ะ


หน้าตาตะกร้าสินค้าจะเป็นประมาณนี้ค่ะ จะมีแค่ Linux โฮสติ้งพร้อม Cpanel กับ ชื่อโดเมนของเราแค่นี้นะคะ นอกเหนือจากนั้นลบทิ้งไปค่ะ เสร็จแล้วกดดำเนินการเช็คเอาท์ได้เลยค่ะ

หลังกดดำเนินการเช็คเอาท์ไปแล้วจะเข้ามาหน้าพี่สาวคนนี้ค่ะ ไม่ต้องตกใจไป ให้สมัครบัญชีค่ะ กดตรงสร้างบัญชีด้านล่างได้เลยค่ะ

ในหน้าสร้างบัญชีจะมีให้เราใส่พวกอีเมลล์ของเรา Username และ Password ค่ะ ส่วน PIN ก็จะเป็น PIN ตัวเลข 4 หลักค่ะ ใส่เสร็จเรียบร้อยให้กดสร้างบัญชีได้เลยค่ะ

หลังจากนั้นจะเข้าไปหน้าข้อมูลจ่ายเงินค่ะ จะมีให้ใส่ชื่อและที่อยู่ของเราให้ใส่เป็นภาษาอังกฤษนะคะ ช่องข้อมูลการชำระเงิน ก็ใส่พวกเลขบัตรตัดเงินเหมือนเวลาเราซื้อของออนไลน์ของเราไปค่ะ หรือถ้าใครมีบัญชี Paypal ก็ใช้ได้ค่ะ หลังจากนั้นให้กดดำเนินการต่อได้เลยค่ะ

หลังจากกดดำเนินการต่อเรียบร้อยแล้ว จะเข้ามาหน้าสำหรับตรวจเช็คอีกรอบค่ะ ให้ตรวจสอบความถูกต้องอีกรอบนะคะ พวกชื่อ Domain ระยะเวลา Hosting ค่ะ ถ้าถูกต้องเรียบร้อยก็กดส่งคำสั่งซื้อของคุณได้เลยค่ะ

หลังจากกดเรียบร้อยจะเข้าหน้านี้ค่ะ เป็นหน้าชำระเงินเสร็จเรียบร้อย ขอบคุณชื่อเรา และรายละเอียดการสั่งซื้อ ถ้าได้หน้านี้เรียบร้อยตอนนี้เราก็มี Hosting และ Domain ของเราเองที่พร้อมใช้งานสามารถเข้าผ่านตาม Internet ได้เรียบร้อยแล้วค่ะ โดยขั้นต่อไปจะเป็นการสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ของเราต่อให้สมบูรณ์ค่ะ

หลังจากขั้นตอนชำระเงินแล้ว เราจะได้ Account สำหรับสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ของเราเป็นที่เรียบร้อย ขั้นตอนต่อไป เราจะทำการเข้าไปเซ็ต Server ของตัวเว็บไซต์เราและทำการ Install Wordpress ให้กับ Website ของเราต่อไปค่ะ แค่คลิกๆ ไม่ยาก ถ้าใครหาหน้า Account ตัวเองไม่เจอเข้าตามลิ้งนี้ก็ได้ค่ะ https://mya.godaddy.com/ แล้ว Login ด้วย Username Password ที่เราสมัครไปในตอนแรก พอเข้ามาจะเจอหน้าประมาณนี้ กดปุ่มปิดหรือกดไม่ ขอบคุณไปก็ได้ค่ะ


หน้าตาในหน้า Account ของเราจะเป็นประมาณนี้ค่ะ ต่อไปให้เลือกหัวข้อจัดการตรงเว็บโฮสติ้ง จะเห็นบัญชี Hosting ของเรา ให้กดจัดการ ได้เลยค่ะ


พอกดไปแล้ว เขาจะให้เราเลือกโดเมนค่ะ ก็เลือกโดเมนที่เราสมัครใส่ชื่อไปตอนแรกได้เลยค่ะ แล้วกดถัดไปได้เลย

ต่อไปจะเป็นการเซ็ตให้เลือกศูนย์ข้อมูลค่ะ ตรงนี้อยู่ที่ว่าเราจะทำเว็บไซต์ขายของออนไลน์ประเภทไหน ถ้าเราจะทำขายทั่วโลก ก็เลือกเป็นอเมริกาเหนือก็ได้ค่ะ หรือถ้าต้องการทำเว็บไซต์ขายของออนไลน์ในไทยก็เลือกเป็นเอเซียค่ะ ข้อแตกต่างคือความเร็วในการเข้าเว็บไซต์ค่ะ ถ้าเลือกเป็นเอเซียโซนเอเซียจะโหลดได้เร็วกว่า แต่เอาจริงก็ไม่ค่อยเห็นผลต่างกันมากขนาดนั้นค่ะ ถ้าไม่คิดอะไรมากก็เลือกเป็นเอเซียนี่แหละค่ะ

ต่อไปจะเป็นการสร้าง Username กับ Password ของ cPanel เวลาเราจะเข้าไปใช้งานค่ะ ให้กำหนด Username ได้เลย ส่วนตรงรหัสผ่านให้เลือก สร้างรหัสผ่าน ให้มัน Auto รหัสผ่านให้ค่ะ อย่าลืม Copy รหัสผ่าน จด เก็บ เซฟ ไว้ด้วยนะ ! แล้วกดถัดไปได้เลยค่ะ

ต่อไปก็จะเป็นขั้นตอนการ Install Wordpress ให้กับเว็บไซต์เราค่ะ ให้เราเลือก ใช่  จากนั้นให้กำหนดชื่อผู้ใช้งาน Wordpress ( Username ) กับ รหัสผ่าน ( Password ) สำหรับเวลาใช้เข้าไปตั้งค่า จัดการในเว็บไซต์เราค่ะ ตรงรหัสผ่านให้กดตรงสร้างรหัสผ่านให้ระบบทำการสร้างรหัสผ่านให้ค่ะ จด Copy เซฟรหัสผ่านไว้ในคอมด้วยนะคะ ห้ามลืม ! แล้วกดเสร็จสิ้นได้เลยค่ะ

หลังจากนั้นให้รอระบบโหลดเซ็ทค่าให้จนเสร็จค่ะ ประมาณ 1-2 นาที

 หลังจากนั้นก็เรียบร้อยค่ะ เว็บไซต์เราจะออนไลน์ สามารถเข้าผ่านได้ทุกเครื่องโดยสมบูรณ์ตอนนี้ ลองพิมพ์ชื่่อเว็บไซต์ของเราเข้าดูในคอมหรือในมือถือก็จะเข้าได้แล้วค่ะ ที่เหลือหลังจากนี้คือการเซ็ตเว็ปไซต์ของเราให้เป็นเว็บไซต์ขายของต่อค่ะ 


ต่อไปจะเป็นการ Setup หลังบ้างให้เป็นเว็บไซต์ขายของออนไลน์กันค่ะ





 หลังเสร็จขั้นตอนด้านบน Install Wordpress กันเรียบร้อยแล้ว ต่อไปจะเป็นการเข้าไป Setup ต่างๆตรงหลังบ้านกันนะคะ ตรงนี้ให้เราเข้าตาม URL ประมาณนี้ค่ะ แต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ให้เราพิมพ์ชื่อ Website ของเรา ต่อด้วย /wp-admin ค่ะ เช่น ถ้าเว็บไซต์ขายของเราชื่อเว็บไซต์ว่า www.kjvespa.com ให้เราพิมชื่อเว็บไซต์เราไปว่า www.kjvespa.com/wp-admin  ประมาณนี้ค่ะ พอกด Enter เข้าไปตามหน้าเว็บไซต์ URL มันเป็นหน้าให้ Config Website ค่ะ



พอเข้ามาแล้วถ้าใครเป็นหน้าให้ใส่ Username Password ก็ใส่ได้เลยค่ะ ถ้าใครเป็นหน้าตามรูปให้เลือก ไม่ ขอบคุณ ไปเลยค่ะ 


หลังจากนั้นหน้าจะเข้ามาหน้าประมาณนี้ค่ะ ให้เราใส่ Username หรือ อีเมลล์ของเราไป กับ Password ที่เราจดไว้ตอนที่ทำการ Install Wordpress ค่ะ แล้วกดเข้าสู่ระบบได้เลยค่ะ

พอเราทำการ Login เข้ามาแล้วจะเข้ามาหลังบ้านของตัวเว็บไซต์หน้าตาจะประมาณนี้ค่ะ ขั้นต่อไปเราจะมาทำการเลือก ธีม ของเว็บไซต์ขายของ ของเรากันค่ะ อันนี้แล้วแต่ว่าเราต้องการให้เว็บไซต์เราเป็นอย่างไร อันนี้จะอยู่ที่การจัดแต่งเว็บไซต์เราเลย คล้ายๆเหมือนสมัยแต่งหน้า Hi5 นั้นแหละค่ะ ถึงตรงนี้จะเห็นหัวข้อ เมนูทางด้านซ้าย แต่ละอันก็จะมีแยกๆย่อยลงไป โดยรายละเอียดแต่ละอันเด๋วจะอธิบายต่อค่ะ ตอนนี้ให้เราเลือกที่เมนู รูปแบบบล๊อก เพื่อทำการเลือกธีมที่เราต้องการก่อนเลยค่ะ

เมื่อกดเข้ามาแล้ว จะเข้ามาหน้านี้จะเป็นธีมที่เรามีให้เลือกใช้ค่ะ ถ้าเพื่อนๆ อยากรู้ว่าธีมแต่ละอันแตกต่างกันอย่างไร อาจจะลองกดเลือกเปิดใช้งานธีมอื่นๆ ดูแล้วลองเข้าไปดูที่หน้าเว็บไซต์เราว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ได้ค่ะ ถ้าเราต้องการเพิ่มธีมอื่นๆอีก จะมีธีมที่มีให้โหลดฟรีได้อีกเพียบเลยค่ะ กดตรงเพิ่มธีมใหม่ ได้เลยค่ะ

จากในหน้านี้พอเรากดเข้ามาจะมีธีมฟรีต่างๆให้เลือกเยอะเลยค่ะ กดโหลดใช้งานได้เลยค่ะ พวกธีมพวกนี้แต่ละอันก็จะมีความสามารถพิเศษต่างๆกันไป ถ้าเราอยากให้เว็บไซต์เราดูหรูๆ ดูแตกต่างทำง่าย บางทีก็อาจจะไปซื้อพวก ธีม ที่เสียเงินมาใช้ดูก็ได้ค่ะ พวกธีมเสียเงินจะใช้ง่ายกว่าเยอะ แล้วก็จัดหน้าหลายๆอย่างได้ดูดีมากๆ ถ้าเกิดอยากลองดูพวกธีมที่ต้องเสียเงินซื้อจะมีเว็บไซต์ที่ขายธีมดังๆคือ https://themeforest.net/ ค่ะ มีธีมเยอะมากๆ ใช้งานง่ายสวยด้วย

อย่างตัวอย่างอันนี้เราขออนุญาติใช้ธีมเสียเงินมาโชว์ให้ดูนะคะ อย่างของเราจะใช้ธีมชื่อ Enfold ค่ะ เป็นธีม Best Seller ใน  https://themeforest.net/ เลย เคยซื้อมาคุ้มดีค่ะ ใช้กี่เว็บไซต์ก็ได้ อัพเดทฟรีตลอดด้วย เผื่อเพื่อนๆสนใจอยากรู้ว่าธีมนี้ทำไรได้บ้าง มันใช้สร้างเว็บไซต์แตกต่างๆกันได้เยอะเลย อันนี้พวกตัวอย่าง เพื่อมีคนสนใจ http://www.kriesi.at/themes/enfold-overview/

หลังจากได้ธีมที่เราพอใจแล้ว ต่อไปเราจะไปทำการ Install Plugin กันต่อค่ะ ให้เราเลือกเมนูปลั๊กอิน ด้านซ้ายได้เลยค่ะ

หลังจากเข้ามาแล้วให้เรากดเพิ่มปลั๊กอินใหม่ค่ะ จะเข้ามาหน้าตาประมาณนี้ เวลาเราจะหาธีมก็ให้พิมตรงช่องค้นหา แล้วกดติดตั้งตอนนี้ แล้วกดใช้งาน ก็เป็นอันเรียบร้อยแล้วค่ะ โดยตัว Plugin สำคัญที่ต้องมีและต้องโหลดมาลงมีดังนี้ค่ะ 

  •  All In One SEO Pack - จะเป็น Plugin ที่ช่วยในการทำอันดับให้ติดหน้าแรกๆของ Google ค่ะ อันนี้สำคัญมากๆๆ ๆ ๆ ถ้าเว็บไซต์ติดหน้าแรกๆ อย่างไงก็เวริคค่ะ
  • Google XML Sitemaps - อันนี้จะเป็นตัวหน้า XML ให้ลงๆไปเลยค่ะ จะช่วยให้ Google เจอเว็บไซต์ของเราได้เร็วขึ้น
  • WP Super Cache - เป็นตัวที่จะช่วยให้เว็บไซต์ขายของออนไลน์เราไม่ต้องทำงานหนักค่ะ ช่วยให้โหลดเว็บไซต์ไวขึ้นด้วย
หลักๆของตัว Plugin ก็จะมีประมาณนี้ค่ะ ที่จำเป็นต้องลงสำหรับเว็บไซต์ทั่วไปเลย เวลาจะหาตัว Plugin Copy ชื่อวางไปเลยก็ได้ค่ะ 



ถ้าเราลงปลั๊กอินถูกต้อง เปิดใช้งานถูกต้องหน้าตาของหน้าปลั๊กอินที่ติดตั้งแล้วจะเป็นประมาณนี้ค่ะ  ขั้นต่อไปจะเป็นการเปิดใช้งานตัวปลั๊กอิน WP Super Cache ค่ะ ให้เลือกที่ตรงเมนูตั้งค่าด้านซ้าย แล้วเลือกที่ WP Super Cache ค่ะ




 จะเข้ามาหน้าประมาณนี้ ให้เราติ๊กที่ Caching On แล้วกด Update Status ได้เลยค่ะ แค่นั้นเลย


ต่อไปจะเป็นการเซ็ตชื่อประโยคหรือหัวข้อเว็บไซต์ แล้วก็ปลั๊กอิน All In one seo pace ค่ะ

 ให้เราเข้าตรงหัวข้อ All In One Seo ด้านซ้ายจะเป็นหน้าประมาณนี้ค่ะ ตรงนี้มีให้ใส่ค่าเองแค่สองส่วนคือ ถ้าตามรูปที่เห็นมีสีแดงๆตรงนั้นค่ะ จะมี Title กับ Description ของตัว Website เรา อันนี้ สำคัญมากๆ ต้องคิด Title กับ Description ให้ดีนะคะ อารมณ์คล้ายๆตัวป้ายติดหน้าร้านเรียกคนเข้าเว็บไซต์ ชื่อร้านอะไรประมาณนั้นเลย ถ้าใครงงเด่วดูด้านล่างค่ะ
 
อันนี้เป็นตัวอย่างผลการค้นหาจากใน Google นะคะ เวลาเราค้นหาอะไรต่างๆใน Google จะเห็นที่เป็น Title กับ Description ใช่มั้ยค่ะ ตรงนั้นคือคำที่เราจะต้องกำหนดค่ะ อาจจะเป็นชื่อร้าน โปรโมชั่น บ่งบอกว่าเราขายอะไร เอาง่ายๆคือ เหมือนเป็นป้ายหน้าร้านเขียนไว้ให้เวลาคนที่จะ Search Google เห็นแล้ว อ่านแล้ว อยากจะคลิกเข้าเว็บไซต์ขายของ ของเรานั้นเลยค่ะ

เวลาที่เราจะคิดคำ กำหนดคำใน All In one Seo ก็ให้ใส่ตรง Title จะเป็นประโยคใหญ่ๆด้านบน ส่วน Description จะเป็นประโยคตัวเล็กด้านล่างค่ะ เสร็จเรียบก็ก็กด Update ได้เลยค่ะ ต่อไปจะเป็นอีกส่วนที่ต้องกำหนดเหมือนกันค่ะ

อีกอันให้เราเลือกตรงเมนูตั้งค่า แล้วเลือกหัวข้อทั่วไปค่ะ จะเป็นหน้านี้ ตรงหัวข้อเว็บ ให้ใส่ประโยคเดียวกับ Title ของเราเลยค่ะ ส่วน คำโปรย ก็เป็นอันเดียวกับ Description แค่นั้นเลยค่ะ แล้วกดบันทึกได้เลยค่ะ


ต่อไปจะเป็นการตั้งค่าลิ้งของพวกตัวสินค้า ให้เราเข้าตรงเมนูตั้งค่า แล้วเลือกหัวข้อ ลิ้งค์ถาวร ค่ะ ตรงการตั้งค่าทั่วไปให้ติ๊กเลือกที่ ชื่อเรื่อง ได้เลยค่ะ แล้วกดบันทึก ถ้าสงสัยว่าทำไปทำไม เด่วอธิบายด้านล่างนะคะ

อันนี้เป็นตัวอย่างผลการค้นหาทใน Google นะคะ ที่เห็นจะเป็นการเปลี่ยนลิ้งด้านหลังให้เป็นประโยค ถ้าเราไม่เป็นพวก URL ด้านหลังจะเป็นแบบเลข p-123 ไรประมาณนี้ค่ะ อันนี้จะเป็นตัวเขียนเหมือนชื่อสินค้าเราเลย อันนี้จะมีประโยชน์กว่า ติดอันดับ Google ได้ดีกว่าค่ะ

ต่อไปจะเป็นการสร้างหน้าแต่ละหน้าค่ะ อันนี้ขออนุญาติเอาเว็บไซต์ที่สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วมาโชว์เลยนะคะ จะได้ไม่เสียเวลา เวลาเราเข้าไปดูตามเว็บไซต์ต่างๆ ไม่ว่าจะเว็บไซต์ขายของออนไลน์ หรือเว็บไซต์ทั่วๆไป จะเห็นว่าแต่ละเว็บก็จะมีหลายๆหน้าเลยใช่มั้ยคะ อันนี้ก็เหมือนๆกันเลยค่ะ ให้เราเลือกที่เมนู หน้า แล้วกดที่เขียนหน้าใหม่ ก็จะเป็นการเพิ่มหน้าใหม่ในเว็บไซต์เลยค่ะ สมมุติเราต้องการมีหน้าแรก หน้าติดต่อเรา หน้าเกี่ยวกับเรา หน้าสินค้าอะไรงี้ ก็สร้างขึ้นมาตามที่เราต้องการได้เลยค่ะ

 อย่างอันนี้เป็นตัวอย่างการสร้างหน้าเว็บไซต์หน้าแรก ถ้าอยากเห็นแบบเวลาเสร็จแล้วจริงๆ ให้ลองดูรูปแรกสุดของเนื้อหาค่ะ อันนี้เป็นในหน้าพอเราเข้ามาแล้วจะมีให้เราใส่รูป ใส่คำ จัดหน้าเว็บไซต์ได้เลยค่ะ อย่างในตัวอย่างนี้ เราใช้ตัวธีมของ Enfold ก็จะใช้ง่ายหน่อย เป็นกรอบลากวางๆ อัพโหลดรูปใส่ มี icon มี Slide แค่ใส่รูปใส่คำ แล้วก็ Support กับหน้าเว็บไซต์แบบมือถือเลย ง่ายมาก แต่ถ้าเป็นธีมแบบอื่น ก็ใช้ง่ายเหมือนกันค่ะ อาจจะมีการจัดวางหน้าเว็บนิดหน่อยค่ะ อันนี้ทำไม่ยากค่ะ อารมณ์เหมือนสมัยทำ Hi 5 นั้นแหละ (ถ้าเกิดทันกันนะ T.T)

อันนี้เป็นตัวอย่างหน้าเว็บไซต์ที่ให้ดูว่าด้านในเป็นอย่างไรเมื่อกี้ค่ะ

ต่อไปจะเป็นการสร้างร้านค้าขายของออนไลน์ และการใส่สินค้าต่างๆลงในหน้าเว็บไซต์นะคะ


หลังจากที่เราสร้างหน้าต่างๆที่ต้องการเสร็จเรียบร้อยแล้ว เซ็ตหน้าเว็บไซต์ขายของเบื้องต้นแล้ว ต่อไปจะเป็นการลงตัว Plugin สำหรับสร้างร้านขายของค่ะ ซึ่งพวกนี้เป็นตัว ฟรี หมดทุกตัวค่ะ ให้เรากลับไปที่เมนูปลั๊กอินอีกรอบ แล้วให้เพิ่มปลั๊กอินตามนี้ค่ะ 

  • WooCommerce - ตัวหลักสำหรับเพิ่มฟังชั่นร้านค้าขายของออนไลน์ค่ะ จะมีระบบเพิ่มสินค้า โชว์สินค้า ระบบจ่ายเงินทั้งแบบตัดบัตร โอนผ่านบัญชี ระบบตะกร้าสินค้า สมัครสมาชิก เก็บออเด้อ Stock สินค้าต่างๆครบเลยค่ะ
  • DHL WooCommerce Extension หรือ FedEx WooCommerce Extension สำหรับคำนวณราคาค่าขนส่งระหว่างประเทศ คำนวนทั้งระยะทางกับน้ำหนักค่ะ
หลักๆก็จะมีเท่านี้ค่ะ อันอื่นจะเป็นตัวเสริมๆนิดหน่อย ลงดูตามรูปก็ได้ค่ะ
 เมื่อเราลงตัวปลั๊กอินเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมี เมนู WooCommerce ขึ้นมาค่ะให้เข้าคลิกเข้าไป แล้วเลือกที่การตั้งค่า จะมีให้ปรับแต่งเยอะเลย ทั้งพวกค่าเงินที่จะใช้โชว์ หรือกลุ่มประเทศที่เราจะขาย เราสามารถเลือกที่จะไม่ส่งไปประเทศไหน หรือจะส่งไปประเทศไหนก็ได้ค่ะ


อันนี้จะเป็นส่วนของ Payment การจ่ายเงินถ้าเราต้องการให้เว็บไซต์เราจ่ายเงินผ่านบัตรได้ ให้เราสมัครบัญชีกับ www.paypal.com จะเป็นเว็บไซต์คล้ายๆบัญชีธนาคารออนไลน์ใช้รับเงิน จ่ายเงินได้ค่ะ สามารถโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารจริงๆของเราได้ เสร็จแล้วให้เราเอาเมลล์ที่เราใช้สมัครไปใส่ตรงส่วนหัวข้อ Paypal ตรงเมนูด้านบน ก็เสร็จเรียบร้อยค่ะ หรือถ้าขายของในประเทศก็สามารถเลือกเป็นแบบโอนเงินผ่านธนาคาร จะสามารถใส่เลขบัญชีให้ลูกค้าโอนและแจ้งเลขออเดอร์ได้ค่ะ


หลังจากเซ็ทค่าต่างๆเรียบร้อยแล้ว ต่อไปจะเป็นการเพิ่มสินค้าที่เราจะขายไป ให้เราเข้าตรงเมนูสินค้า จากรูปจะเห็นสินค้าที่ลงขายค่ะ ถ้าจะเพิ่มสินค้าให้เรากดที่ Add Product ได้เลยค่ะ


จากอันนี้จะเป็นหน้าการจัดสินค้าค่ะ จะมีให้เราใส่ราคา ใส่รูป ใส่คำอธิบาย ขนาดต่างๆครบเลยค่ะ หรือจะใส่ราคา Sale ลดราคาก็ยังได้ค่ะ  รูปสินค้าก็สามารถใส่ได้หลายๆรูปนะคะ


อันนี้จะเป็นหน้าสินค้าจริงที่ทำเสร็จแล้ว สำหรับเข้าชม อย่างอันนี้เป็นกางเกงก็จะมีไซต์ สี ให้เลือกค่ะ และให้ใส่ลงตะกร้า ก่อน Checkout ประมาณนี้ค่ะ 


เท่านี้ก็เรียบร้อยก็จะได้หน้า Shop สำหรับเว็บไซต์ขายของออนไลน์เรียบร้อยแล้วค่ะ
เขียนมาเยอะไปหน่อย เป็นไงค่ะ เท่านี้ก็ได้เว็บไซต์ขายของออนไลน์ แบบหรูๆ สวยงาม สบายกระเป๋า แถมดูเป็น Brand ของตัวเองไม่ต้องไปพึ่งใคร ไม่ต้องรู้ภาษาโปรแกรมมิ่งเลยค่ะ ที่เหลือก็ขอให้ได้ไอเดียขายของ ให้ปังๆ รวยๆกันนะคะ  

ถ้ามีตรงไหนสงสัยคอมเม้นถามได้เลยนะ ถ้าว่างเด่วมาตอบให้นะคะ